วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ

โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ

หมออนามัย โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ
โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ
       การประกอบอาชีพเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของประชากรเวลากว่า 1 ใน 3 ใช้ไปกับการประกอบอาชีพ การจัดสภาพในที่ประกอบอาชีพให้เหมาะสมปราศจากโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อผู้ประกอบอาชีพ จึงมีความสำคัญ โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ หมายความถึงโรคและการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพ โดยแบ่งตามสาเหตุหรือลักษณะการเกิดโรค เป็น 2 ประเภทคือ
1. โรคเกิดจากการประกอบอาชีพ  หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนโดยมีสาเหตุประกอบอาชีพเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพในที่ประกอบอาชีพ ซึ่งอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงานหรือหลังจากทำงานเป็นเวลานาน และโรคบางอย่างอาจเกิดภายหลังหยุดการทำงานหรือลาออกจากงานนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งคุกคามสุขภาพ ปริมาณสารที่ได้รับ และโอกาสหรือวิธีการที่ได้รับ ตัวอย่างของโรคที่สำคัญ เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส (โรคปอดจากฝุ่นหิน) โรคพิษสารทำละลายต่าง ๆ   ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ในเชิงสาเหตุและผลกระทบ
2. โรคเนื่องจากการประกอบอาชีพ หมายถึงโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับคนประกอบอาชีพ โดยมีสาเหตุจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกันและการประกอบอาชีพ เป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดโรค ทั้งนี้ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีส่วนทำให้เกิดโรค อาจได้แก่ พันธุ์กรรม พฤติกรรมสุขภาพของคนประกอบอาชีพ ท่าทางการประกอบอาชีพ ลักษณะหรือระบบงานที่ไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่น โรคปวดหลังจากการประกอบอาชีพ โรคความดันโลหิตสูงเป็นต้น โดยสรุป การเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ ถ้ามีปัจจัยจากภายนอกมาทำให้เกิดโรค ก็ถือเป็นโรคจากอาชีพ เช่น โรคพิษตะกั่ว (ตะกั่วไม้ใช่สารองค์ประกอบของร่างกาย) โรคซิลิโคสิส (ฝุ่นหินเป็นสารแปลกปลอมในปอด) เป็นต้น แต่ถ้ามีสาเหตุจากปัจจัยส่วนตัวร่วมกับสภาพและสิ่งแวดล้อมการประกอบอาชีพทำให้อาการของโรคมากขึ้น หรือเกิดความผิดปกติชัดเจนยิ่งขึ้น ก็ถือเป็นกลุ่มโรคเนื่องจากการประกอบอาชีพ เช่น โรคปวดหลัง ซึ่งคนที่มีอริยาบถไม่ถูกต้องมีแนวโน้มปวดหลังได้ง่าย เมื่อต้องมาประกอบอาชีพรีบเร่งหรือยกย้ายของหนัก ๆ ก็ยิ่งทำให้ปวดหลังง่ายขึ้นหรือทำให้อาการปวดหลังกำเริบมากขึ้น เป็นต้น
ปัจจัยหลักโรคเกิดจากการประกอบอาชีพมีอยู่3ปัจจัยคือ             
             1.สภาพของผู้ประกอบอาชีพ (workers) เด็กและผู้สูงอายุหรือสตรีมีครรภ์มีโอกาสเกิดโรคจากการประกอบอาชีพได้มากขึ้น  ลักษณะรูปร่างของคนงานที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการประกอบอาชีพสามารถก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อและกระดูก  กรรมพันธุ์มีผลต่อการเกิดโรคบางชนิดได้ เช่น ผู้ป่วยที่เป็น seroderma pigmentosum ซึ่งมีความบกพร่องในการซ่อมแซม DNA ทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังจากการสัมผัสถูกแสงแดดได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป พฤติกรรมของผู้ทำงานมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการเกิดโรคเกิดจากการประกอบอาชีพ เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่จะทำให้ผู้ประกอบอาชีพมีโอกาสเกิดโรคตับ หรือโรคปอดจากการประกอบอาชีพได้มากขึ้น ประสบการณ์ประกอบอาชีพของผู้ประกอบอาชีพมีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการประกอบอาชีพ โดยผู้ที่มีประสบการณ์น้อยมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ประสบการณ์ การประกอบอาชีพที่น้อยยังอาจส่งผลให้ขาดการระมัดระวังในการประกอบอาชีพ ที่ต้องสัมผัสกับสิ่งคุกคามต่อสุขภาพต่างๆในที่ทำงานอีกด้วย
              2.สภาพงาน (work conditions) ได้แก่ ระบบการประกอบอาชีพ หน้าที่ความรับผิดชอบ การประกอบอาชีพเป็นกะ ค่าจ้าง สวัสดิการ และความสัมพันธ์ ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างมีผลเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ เช่น ระบบการประกอบอาชีพที่มุ่งเน้นที่จำนวนผลผลิตจะกระตุ้นให้คนงานประมาทขาดความระมัดระวังในการป้องกันอันตราย การประกอบอาชีพเป็นกะ โดยมีการเปลี่ยนกะอยู่เป็นประจำทำให้คนงานมีปัญหาโรคกระเพาะอาหาร โรคหัวใจและปัญหาทางด้านจิตใจและสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในที่ประกอบอาชีพ มีผลต่อจิตใจและผลผลิตในการประกอบอาชีพ

สิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพ(workingenvironments)                  1. สิ่งแวดล้อมด้านภายภาพ (physical environments) ได้แก่ แสงที่จ้าเกินไปหรือมืดเกินไปมีผลต่อสายตาและสภาพความเครียด เสียงที่ดังเกินไป (noise) ส่งผลให้เกิดภาวะหูเสื่อม อุณหภูมิร้อนหรือหนาวเกินไปทำให้สมดุลย์ของร่างกายเสียไปแรงสั่นสะเทือน
              2. สิ่งแวดล้อมด้านชีวภาพ (biological environments) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในที่ประกอบอาชีพ ได้แก่ เชื้อโรคชนิดต่างๆ ในสถานพยาบาล สัตว์นำโรคหรือสัตว์มีพิษต่างๆ ที่พบในภาคเกษตรกรรมและเชื้อโรคและสัตว์ทดลองในห้องทดลองวิจัย
              3. สิ่งแวดล้อมด้านเคมี (chemical environments) ได้แก่ สารเคมี โลหะหนัก ในรูปฝุ่น ควัน หมอก ละออง ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายทั้งทางการหายใจ การกิน หรือผิวหนัง สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพผู้ประกอบอาชีพได้ทุกระบบทั้งเฉียบพลันเรื้อรังและอาจก่อให้เกิดมะเร็ง
              4. สิ่งแวดล้อมทางด้านจิตใจ (psychological environments) ได้แก่ สภาพความเครียดในการประกอบอาชีพ (occu-pational stress) ความเหนื่อยล้าจากการประกอบอาชีพ (burnout)  ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดโรคทางกายได้(psychosomaticdisorders)
              5. สิ่งแวดล้อมด้านกายศาสตร์ (ergonomics) กายศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการนำเอาศาสตร์ต่างๆ มาปรับใช้กับการจัดสถานที่ประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับผู้ประกอบอาชีพ การที่ลักษณะที่ประกอบอาชีพ เข้ากันไม่ได้กับตัวผู้ประกอบอาชีพ จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุและโรคเกิดจากการประกอบอาชีพได้ เช่น การที่คนงานต้องก้มๆ เงยๆ ประกอบอาชีพ อยู่ตลอดวันทำให้คนงานมีโอกาสเกิดอาการปวดหลังขึ้นได้ โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ส่วนมากไม่สามารถรักษาได้หรือมีความพิการหลงเหลืออยู่หลังการรักษา ดังนั้นหนทางที่ดีที่สุดในการจัดการกับโรคเกิดจากการประกอบอาชีพ คือ การป้องกันโรคการค้นหาวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นโรค ให้การรักษา และฟื้นฟูสภาพให้กลับเป็นปกติ หลักสำคัญที่จะทำการรักษาและฟื้นฟูได้คงต้องมีการวินิจฉัยที่ถูกต้องนำมาก่อน หลักการวินิจฉัยโรคเกิดจากการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย การวินิจฉัยโรค โดยอาศัยหลักการทางการแพทย์ทั่วไปในการวินิจฉัยว่าผู้ประกอบอาชีพป่วยเป็นโรคใด การซักประวัติการทำงานโดยละเอียด มิใช่เพียงคำถามว่าประกอบอาชีพอะไรเท่านั้น การซักประวัติการประกอบอาชีพ ควรประกอบด้วย อ่านต่อ

ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/481623&h

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น